วันพุธที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2554

ทราย อาร์ม ยกระดับสู้นายทุน

ทราย อาร์ม ยกระดับสู้นายทุน

พลาดิศัย จันทรทัต

บทความนี้นำมาจาก ข่าวสดรายวัน วันที่ 07 มีนาคม พ.ศ. 2553 ปีที่ 19 ฉบับที่ 7038 หน้า 5 

ม็อบ แรงงานหญิงอดีตคนงานบริษัท บอดี้แฟชั่น (ประเทศไทย) จำกัด ในเครือบริษัท ไทรอัมพ์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ผู้ผลิตชุดชั้นในสตรียี่ห้อดัง "ไทรอัมพ์" ตัดสินใจออกจากจุดชุมนุมที่กระทรวงแรงงาน หลังปักหลักเรียกร้องขอความเป็นธรรมจากนายจ้างมานานกว่า 8 เดือน

พร้อมๆ กับการผลิตแบรนด์ชุดชั้นในสตรียี่ห้อใหม่ "ทราย อาร์ม" (Try Arm) หาทุนรอนในการเคลื่อนไหวต่อสู้ความไม่เป็นธรรม

การยอมถอยในครั้งนี้ มิใช่ยอมจำนน แต่เพื่อปรับยุทธศาสตร์ยกระดับการต่อสู้

จิตรา คชเดช อดีตประธานสหภาพแรงงานไทรอัมพ์ กล่าวแสดงจุดยืนในเวที "8 เดือนการต่อสู้สู่ก้าวต่อไปของคนงานหญิงไทรอัมพ์ฯ และขบวนการแรงงาน" ในวันที่ 27 ก.พ.ที่ผ่านมา วันสุดท้ายที่ใต้ถุนกระทรวงแรงงาน

จิตรา ยืนยันว่า ถึงการชุมนุมจะยุติลงภาย ในวันนี้ แต่ไม่ได้หมาย ความว่าการต่อสู้ของคนงานจะยุติ คนงานบางส่วนยังคงรวมตัวกันเรียกร้องการถูกกดขี่ ข่มเหง โดยใช้ที่ทำการสหภาพเป็นสถานที่รวมตัว

เนื่องจากในขณะนี้เรามีสถาน ที่ผลิตชุดชั้นใน "ทราย อาร์ม" แล้ว เป็นตึก 4 ชั้น ในซอยสุขุมวิท 115 โดยใช้เงินจากการขายสินค้ามาเช่าตึก และจักรเย็บผ้า เชื่อว่าหลังจากนี้สินค้า "ทราย อาร์ม" จะได้รับการตอบรับที่ดี เพราะเป็นสินค้าของคนไทยและราคาย่อมเยา



แกน นำแรงงานหญิงไทรอัมพ์บอกถึงแนวทางการต่อสู้ต่อไปว่า เริ่มจากรวมตัวคนงานที่สมัครใจเข้าร่วมต่อสู้กันต่อไป เพื่อจะกำหนดทิศทางกันอีกครั้ง โดยในวันที่ 17 มี.ค.ที่จะถึง จะนำจักรเย็บผ้าจำนวน 250 เครื่องที่กระทรวงแรงงานมอบให้ มอบให้คนงานที่ต้องการนำจักรไปผลิตชุดชั้นในร่วมกัน

ขณะเดียวกัน ก็จะยกระดับการต่อสู้ไปสู่นานาชาติ เนื่องจากในขณะนี้กระทรวงเศรษฐกิจของประเทศสวิตเซอร์แลนด์กำลังพิจารณาคำ ร้องของคนงานที่ร่วมกันฟ้องร้องว่า บริษัทไม่ได้ปฏิบัติตามหลักสากลของ โออีซีดี (Organisation for Economic Co-operation and Development) หรือองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ

โดยหน่วยงานนี้ เป็นองค์การระหว่างประเทศ จัดตั้งขึ้นเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจ รวมถึงการจ้างงานและคุณภาพชีวิต ในหมู่ประเทศสมาชิกส่งเสริมการค้าเสรี และให้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนา ทั้งในประเทศอุตสาหกรรมและประเทศกำลังพัฒนา โดยมีสมาชิกทั้งสิ้น 30 ประเทศ และ 1 องค์การ คือ สหภาพยุโรป อีกทั้งยังร่วมมือและมีข้อตกลงต่างๆ กับประเทศที่ไม่ได้เป็นสมาชิกกว่า 70 ประเทศ

"บริษัทจดทะเบียนที่ประ เทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยเจ้าของเป็น ชาวเยอรมัน ซึ่งทั้ง 2 ประเทศเป็นสมาชิก โออีซีดีอยู่แล้ว ตอนนี้องค์กรแจ้งว่าอยู่ในขั้นตอนการตรวจสอบว่าละเมิดจริงหรือไม่ ถ้าตรวจพบว่าละเมิดจริง โออีซีดีจะเข้ามาจัดการประนีประนอม ไกล่เกลี่ย โดยจะเรียกนาย จ้างมาพูดคุยเพื่อยุติปัญหาอย่างเป็นธรรม" จิตรากล่าว



ขณะ ที่ วิไลวรรณ แซ่เตีย ประธานคณะกรรมการสมาน ฉันท์แรงงานไทย ร่วมกล่าวว่า อดีตแรงงานหญิงไทรอัมพ์เป็นตัวอย่างของความอดทนและความสามัคคี ทำให้ขบวนการต่อสู้มีความเข้มแข็ง

จากการชุมนุมที่คนงานร่วมกันออก เงินค่ารถไปร่วมชุมนุมเอง ความรักและเข้าใจในตัวผู้นำแรงงาน แม้จะถูกกลั่นแกล้งดำเนินคดี เพราะนำคนงานไปชุมนุมประท้ว

รวมถึง ความพยายามสร้างผลิตภัณฑ์ชุดชั้นในยี่ห้อ "ทราย อาร์ม" ขายในราคาถูก ไม่เอาเปรียบผู้บริโภค ทั้งหมดสะท้อนการต่อสู้อย่างเข้มแข็ง และเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับขบวนการต่อสู้ของแรงงานในอนาคต

ด้านตัว แทนนักวิชาการ รศ.สมชาย ปรีชาศิลปกุล อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มองว่าปัญหาที่เกิดขึ้นกับอดีตคนงานไทรอัมพ์เป็นปัญหาที่คนงานตัวเล็กๆ ในสังคม กำลังเผชิญกับความเอารัดเอาเปรียบอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน

"นาย จ้างพยายามจ้างงานอย่างไม่เป็นธรรม ขณะเดียวกัน กระบวนการยุติธรรมที่มีอยู่กลับไม่สามารถให้ความเป็นธรรมกับคนงานได้ อย่างไรก็ตาม การที่คนงานต้องยุติการชุมนุมไม่ได้หมายความว่าเรื่องราวจะต้องยุติลง ดังนั้น คนงานจะต้องรวมพลังกันเพื่อต่อสู้และร่วมกันหาแนวทางเพื่อให้สามารถดำรง ชีวิตอยู่ต่อไป" อาจารย์สมชายกล่าว

ย้อนกลับไปถึงจุดเริ่มต้นแห่งการต่อสู้ ภายหลังที่แรงงานหญิงจำนวน 1,959 คน ถูกเลิกจ้างด้วยเหตุผลจากพิษเศรษฐกิจช่วงกลางปีพ.ศ.2552

กลุ่ม แรงงานในนามของสหภาพแรงงานไทรอัมพ์ อินเตอร์เนชั่นแนล แห่งประเทศไทย ประมาณ 200-300 คน จึงรวมตัวกันชุมนุมที่หน้าบริษัท เมื่อวันที่ 29 มิ.ย.2552 เพื่อให้บริษัทรับกลับเข้าทำงานตามเดิม แต่ข้อเรียกร้องยังไม่บรรลุผล

ต่อ มาพวกเขาตัด สินใจปักหลักชุมนุมแบบยืดเยื้อ โดยใช้ พื้นที่ใต้อาคารของกระทรวงแรงงาน หวังว่าจะได้รับชัย ชนะจากการต่อสู้ โดยมีน.ส.จิตรา คชเดช ประธานสหภาพแรง งานฯ เป็นแกนนำ

เพื่อเรียก ร้องให้กระทรวงแรงงานเข้ามาดูแลช่วยเหลือคนงานและแก้ไขปัญหาการเลิกจ้าง ที่ไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงสภาพการจ้าง พร้อมทั้งผลิตชุดชั้นใน "ทราย อาร์ม" ขายเพื่อนำเงินมาประทังชีวิต และทุนรอนในการเรียกร้องสิทธิ์ที่พึงได้

แม้จะยุติการชุมนุมที่ยาวนานถึง 8 เดือน แต่ภารกิจของพวกเธอยังไม่จบ

Source : http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROb1lYQXdNVEEzTURNMU13PT0%3D&sectionid=TURNeE53PT0%3D&day=TWpBeE1DMHdNeTB3Tnc9PQ%3D%3D